วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

หลักการดูดาวเบื้องต้น

วิธีดูดาวเบื้องต้น
หลักการดูดาวเบื้องต้น       1. ดูในคืนข้างแรม หรือคืนเดือนมืด
      2. ปราศจากแสงภาคพื้นรบรวนเช่นแสงไฟฟ้า ต่าง ๆ
      3. ปราศจากเมฆหมอกบดบัง
      4. ดูในที่โล่งแจ้ง ปราศจากสิ่งบดบังสายตาภาคพื้นดิน เช่นต้นไม้ อาคารบ้านเรือน
      5. มองหาความแตกต่าง ของดาวเคราะห์และดาวฤกษ์

ดาวเคราะห์
      1. ไม่มีแสงในตัวเอง แต่ปรากฏเห็นได้เพราะอาศัยแสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์
      2. เคลื่อนที่อยู่ในแถบกลุ่มดาวจักรราศีเมื่อเที่ยบกับดาวดวงอื่น
      3. ตำแหน่งขึ้น - ลง ในแต่ละวันไม่คงที่
      4. ความสว่าง ไม่คงที่ เพราะระยะทางระหว่างโลกและดาวเคราะห์ เปลี่ยนตำแหน่ง อยู่ตลอดเวลา

ดาวฤกษ์
      1. มีแสงสว่างในตัวเอง
      2. มีแสงระยิบระยับ
      3. อยู่เป็นกลุ่มไม่เคลื่อนที่ เรียงกันอยู่อย่างไรก็เป็นเช่นนั้น ไม่มีการเปลี่ยนตำแหน่ง ดาวแต่ละดวงในกลุ่มจะปรากฏสว่างต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง
      4. ตำแหน่งขึ้น - ลง และแนวทางการขึ้น - ตกไม่เปลี่ยนแปลง
      5. ความสว่างคงที่


การขึ้น - ตกของดวงดาว

      ประเทศไทย ตั้งอยู่ในซีกโลก ภาคเหนือ ประมาณระหว่าง ละติจุดที่ 6 ถึง 20 องศาเหนือ จึงสามารถ มองเห็น กลุ่มดาว ในซีกโลกเหนือ ทั้งหมด และกลุ่มดาวซีกโลกใต้ เห็นเป็นส่วนใหญ่ มีไม่กี่กลุ่มที่ สามารถ มองเห็นได้ เราสามารถ ศึกษา และสังเกตุการณ์ เกี่ยวกับการขึ้น และตกของดวงดาว ได้ตั้งแต่ แสงสนธยา ได้หายไป จากของฟ้า หลังจาก ดาวอาทิตย์ลับขอบฟ้า ไปแล้ว 18 องศา หรือประมาณ 50 นาที จนระทั่งแสงเงินแสงทอง เริ่มจับขอบฟ้า ทางทิศตะวันออก ดาวเคราะห์ เพื่อนบ้านของเราเช่น ดาวพุธ และดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์วงใน มีวงโคจรน้อยกว่า โลกของเรา ดาวพุธจะเห็นทางทิศตะวันออก ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น หรือทางทิศตะวันตก หลังจาก ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ห่างจากดวงอาทิตย์ ไม่เกิน 28 องศา และจะเห็นได้นานประมาณ 1 ชั่งโมงครึ่ง ดาวศุกร์ จะเห็น ปรากฏก่อนดวงอาทิตย์ ขึ้นทางทิศตะวันออก คนไทยเรียก ดาวรุ่งหรือ ดาวประกายพฤกษ์ ถ้าเห็นห่างจาก ดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47 องศา เห็นนานประมาณ 3 ชั่วโมง
หลักการดูดาวเบื้องต้น       1. ดูในคืนข้างแรม หรือคืนเดือนมืด
      2. ปราศจากแสงภาคพื้นรบรวนเช่นแสงไฟฟ้า ต่าง ๆ
      3. ปราศจากเมฆหมอกบดบัง
      4. ดูในที่โล่งแจ้ง ปราศจากสิ่งบดบังสายตาภาคพื้นดิน เช่นต้นไม้ อาคารบ้านเรือน
      5. มองหาความแตกต่าง ของดาวเคราะห์และดาวฤกษ์

ดาวเคราะห์
      1. ไม่มีแสงในตัวเอง แต่ปรากฏเห็นได้เพราะอาศัยแสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์
      2. เคลื่อนที่อยู่ในแถบกลุ่มดาวจักรราศีเมื่อเที่ยบกับดาวดวงอื่น
      3. ตำแหน่งขึ้น - ลง ในแต่ละวันไม่คงที่
      4. ความสว่าง ไม่คงที่ เพราะระยะทางระหว่างโลกและดาวเคราะห์ เปลี่ยนตำแหน่ง อยู่ตลอดเวลา

ดาวฤกษ์
      1. มีแสงสว่างในตัวเอง
      2. มีแสงระยิบระยับ
      3. อยู่เป็นกลุ่มไม่เคลื่อนที่ เรียงกันอยู่อย่างไรก็เป็นเช่นนั้น ไม่มีการเปลี่ยนตำแหน่ง ดาวแต่ละดวงในกลุ่มจะปรากฏสว่างต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง
      4. ตำแหน่งขึ้น - ลง และแนวทางการขึ้น - ตกไม่เปลี่ยนแปลง
      5. ความสว่างคงที่


การขึ้น - ตกของดวงดาว

      ประเทศไทย ตั้งอยู่ในซีกโลก ภาคเหนือ ประมาณระหว่าง ละติจุดที่ 6 ถึง 20 องศาเหนือ จึงสามารถ มองเห็น กลุ่มดาว ในซีกโลกเหนือ ทั้งหมด และกลุ่มดาวซีกโลกใต้ เห็นเป็นส่วนใหญ่ มีไม่กี่กลุ่มที่ สามารถ มองเห็นได้ เราสามารถ ศึกษา และสังเกตุการณ์ เกี่ยวกับการขึ้น และตกของดวงดาว ได้ตั้งแต่ แสงสนธยา ได้หายไป จากของฟ้า หลังจาก ดาวอาทิตย์ลับขอบฟ้า ไปแล้ว 18 องศา หรือประมาณ 50 นาที จนระทั่งแสงเงินแสงทอง เริ่มจับขอบฟ้า ทางทิศตะวันออก ดาวเคราะห์ เพื่อนบ้านของเราเช่น ดาวพุธ และดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์วงใน มีวงโคจรน้อยกว่า โลกของเรา ดาวพุธจะเห็นทางทิศตะวันออก ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น หรือทางทิศตะวันตก หลังจาก ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ห่างจากดวงอาทิตย์ ไม่เกิน 28 องศา และจะเห็นได้นานประมาณ 1 ชั่งโมงครึ่ง ดาวศุกร์ จะเห็น ปรากฏก่อนดวงอาทิตย์ ขึ้นทางทิศตะวันออก คนไทยเรียก ดาวรุ่งหรือ ดาวประกายพฤกษ์ ถ้าเห็นห่างจาก ดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47 องศา เห็นนานประมาณ 3 ชั่วโมง
วิธีการเริ่มต้นสำหรับผู้สนใจดาราศาสตร์
         การดูดาวถือเป็นงานอดิเรกอีกชนิดหนึ่งที่ให้ทั้งความเพลินเพลิน ให้ความรู้เกี่ยวกับ ดวงดาวและเอกภพได้เป็นอย่างดี การสังเกตท้องฟ้ายามค่ำที่เต็มไปด้วยแสงดาวระยิบระยับนับหมื่นนับล้านดวง สร้างความสุขใจได้ดีพอสมควร หากเราสังเกตด้วยสายตาผาดๆ ก็คงสัมผัสกับบรรยากาศที่น่าตื่นตาของมันได้เพียงอย่างเดียว แต่หากเราศึกษาให้ลึกลงไปกว่านั้นรู้จักถึงกลุ่มดาวต่างๆ ดาวแต่ละดวงที่กำลังทอแสงแข่งกันได้ก็คงเป็นการดี ช่วยเพิ่มอรรถรสและบรรยากาศในการชื่นชมท้องฟ้ายามค่ำได้ดีขึ้นกว่าเก่าอีก มากทีเดียว 
             การที่เราจะเริ่มต้น หัดดูดวงดาวนั้นจะว่าเป็นเรื่องง่ายที่ไม่ต้องมีความรู้พื้นฐานเลยก็ไม่ถูก ต้องนักหรือจะจัดให้เป็นเรื่องยากชนิดที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการศึกษาค้น คว้าอย่างยากเย็นก็ไม่เชิงซะทีเดียว  การเรียนรู้เกี่ยวกับหมู่ดาวของกิจกรรมชนิดนี้อาจจะต้องอาศัยความเข้าอกเข้า ใจและสร้างความคุ้นเคยให้กับท้องฟ้าอยู่บ้างเหมือนกัน ผู้ที่สนใจเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์ จึงจำต้องมีความรู้เกี่ยวกับท้องฟ้าและดวงดาวอยู่บ้างตามสมควร
               หมู่ดวงดาวที่เราเห็นส่องแสงเป็นประกายอยู่ในยามค่ำนั้น นักดาราศาสตร์จัดแบ่งออกเป็นกลุ่มดาวฤกษ์  ในสมัยอดีตที่วิชาดาราศาสตร์เริ่มเป็นที่สนใจของมนุษย์ตามหลักวิชาการพยายาม ทำความเข้าใจด้วยการศึกษาอย่างวิทยาศาสตร์ ปโตเลมี นักดาราศาสตร์ชาวกรีกผู้ซึ่งสนอกสนใจในการเคลื่อนไหวของหมู่ดาวได้จัดแบ่ง กลุ่มดาวฤกษ์ที่เขาสังเกตเห็นออกเป็น  48 กลุ่มดาว  ซึ่งในขณะนั้นยังไม่ได้รวมเอากลุ่มดาวในซีกโลกใต้ที่นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณ ยังไม่สามรถสังเกตเห็นได้  ต่อมาในปี ค.ศ. 1930 องค์การดาราศาสตร์สากล ( Internation Astronomical   Union หรือ IAU) ได้แบ่งกลุ่มดาวออกเป็น 88 กลุ่ม ซึ่งยังคงใช้มาจนถึงทุกวันนี้ ในดาว ทั้ง 88 กลุ่มนี้ยังถูกจัดแบ่งออกไปตามกลุ่มดาวทางซีกฟ้าทางใต้และซีกฟ้าทางเหนือตาม ตำแหน่งที่ปรากฏ               สำหรับประเทศไทย สามารถมองเห็นกลุ่มดาวต่างๆที่ทาง องค์การดาราศาสตร์สากล จัดแบ่งไว้ทั้งหมด 88 กลุ่มได้ราว  74 กลุ่มเท่านั้น ยังมีกลุ่มดาวอีกราว 14 กลุ่มที่ตกสำรวจไปจากสายตาผู้สังเกตในประเทศไทย ในความเป็นจริงแล้วสำหรับการเริ่มตันศึกษานั้นเราไม่จำเป็นที่จะต้องศึกษา ให้รู้จักดวงดาวทั้ง 88 กลุ่มนั้นมีเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้นที่เป็นที่นิยมศึกษาของผู้เริ่มต้นทาง ด้านดาราศาสตร์  ทั้งยังต้องเรียนรู้ดาวที่สำคัญๆ ในเบื้องต้นหรือเส้นสมมติต่างๆที่ใช้ในทางดาราศาสตร์
A คือ ที่ขั้วโลกเหนือ
B คือ ละติจูดที่ 45 เหนือ
C คือ ที่เส้นศูนย์สูตรโลก
เมื่อยืนที่ขั้วโลกหรือตำแหน่ง A
จะเห็นเส้นศูนย์สูตรฟ้าอยู่ที่ขอบฟ้า
คนที่อยู่ที่ละติจูด 45° เหนือ คือ ที่ตำแหน่ง B
จะเห็นเส้นศูนย์สูตรฟ้าพาดจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกโดยผ่านเมริเดียนไปทาง
ทิศ้ของจุดเหนือศีรษะเป็นมุม 45° หรือเส้นศูนย์สูตรฟ้าเอียงกับขอบฟ้าไปทางใต้เป็นมุม 45°
คนที่อยู่ที่บริเวณเส้นศูนย์สูตรโลกหรือ ตำแหน่ง C
จะเห็นเส้นศูนย์สูตรฟ้าพาดจากจุดทิศตะวันออกผ่านจุดเหนือศีรษะไปยังจุดทิศตะวันตก


แผนที่ดาว

          อุปกรณ์ที่จำเป็นอีกอย่าง หนึ่งในการเริ่มต้นศึกษาดาราศวาสตร์คือแผนที่ดาว แผนที่ชนิดนี้จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเข็มทิศนำทางที่ทำให้เราสามารถเรียน รู้และเข้าใจเกี่ยวกับหมู่ดาวต่างๆได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยการสอบเทียบกับแผ่นที่ดาวดังกล่าว โดยสามารถเลื่อนแผ่นที่เพื่อสังเกตดวงดาวได้ตามวันเวลาที่มีปรากฏอยู่บนแผ่น ที่ แผ่นที่ดาวมีวางขายที่ท้องฟ้าจำลองซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นกระดาษที่แสดงให้ เห็นกลุ่มดาวต่างๆ และแม้กระทั่งในปัจจุบันยังมีบริการให้ดาวน์โหลดแผ่นที่ดาวเพื่อใช้ในการ ศึกษาของเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์ของต่างประเทศอยู่บ้างเหมือนกันส่วน ใครจะใช้แบบไหนก็ขึ้นอยู่กับความถนัด


                  แผ่นที่ดาวถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดเสียไม่ได้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาทาง ด้านดาราศาสตร์เพราะมันจะทำหน้าที่นำทางเราให้เข้าอกเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับ ดวงดาวและท้องฟ้า ในขั้นแรกของการศึกษาแน่นอนว่าเราต้องเทียบดวงดาวที่ปรากฏด้วยตากับดวงดาว ดังกล่าวที่ปรากฏอยู่บนแผ่นที่ดาว เพื่อหาตำแหน่งที่แน่นอนและสามารถสังเกตเห็นดาวดวงต่อๆไปได้อย่างไม่ติดขัด สับสน
การวัดมุมดวงดาว


          การวัดมุมดาวเป็นวิธีการหนึ่งที่ไม่ ต้องอาศัยอุปกรณ์เพิ่มเติมนักดาราศาสตร์สามารถวัดได้ด้วยอาศัยฝ่ามือตนเอง ซึ่งวิธีการนี้ทำให้เราสามารถสังเกตเห็นดาว ได้ดียิ่งขึ้นและรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของมันโดยไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์อย่าง อื่นมาช่วยเลยเพียงแต่การอาศัยการสังเกตและความรอบคอบในการวัดระยะมุมเท่า นั้นเอง

1 กำปั้น = 10 องศา

ปลายนิ้วโป้งถึงปลายนิ้วก้อย = 22 องศา
ปลายนิ้วชี้ถึงปลายนิ้วก้อย = 15 องศา
ความหนาของนิ้วชี้ = 2 องศา
ความหนาของนิ้วชี้กับนิ้วกลาง = 4 องศา
ความหนาของนิ้วชี้กับนิ้วกลางและนิ้วนาง = 5 องศา
ความหนาของนิ้วก้อย = 1 องศา

กล้องดูดาว

          กล้อง ดูดาวถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่จำเป็นในการศึกษาทางดาราศาสตร์ แต่ในระยะแรกนั้นกล้องดูดาวที่มีราคาสูง ก็อาจจะยังไม่จำเป็นเท่ากับการที่เราจะทำความเข้าใจและเรียนรู้เกี่ยวกับดวง ดาว

          การใช้กล้องโทรทัศน์ในการสังเกตดวงดาวในระยะแรกของ การเริ่มต้นเรียนรู้การดูดาวนั้น อาจจะสร้างความปัญหาให้กับผู้เริ่มต้นได้มากพอสมควรเนื่องจากยังไม่ชำนาญใน การใช้กล้อง  และออกจะดูเป็นการข้ามขั้นตอนอยู่สักหน่อย  เพราะการที่ดาวเปลี่ยนตำแหน่งในการสังเกตอยู่ตลอดเวลาบวกกับความที่ยังไม่ ชำนาญในตำแหน่งดาว การใช้กล้องดี ๆพร้อมกับความคาดหวังที่เต็มเปี่ยม ว่าจะต้องเห็นความลับของจักรวาลอย่างถนัดถนี่ก็อาจสร้างความผิดหวังให้กับ มือใหม่ได้มากทีเดียว

          แต่หากทุนทรัพย์พร้อมแล้วก็ย่อมจะไม่มีปัญหา ในเรื่องอุปกรณ์ที่จะอำนวยความสะดวกให้เราแต่กระนั้นก็ควรจะมีพื้นบานเกี่ยว กับดวงดาวอยู่บ้าง กล้องที่เหมาะสมในระยะแรกของการศึกษาทางดาราสาสตร์นั้นผู้นิยมเวหายามค่ำ มักแนะนำให้มือใหม่ใช้กล้องสองตาก่อนเพื่อทำความคุ้นเคยกับท้องฟ้าก่อนที่จะ ขยับไปใช้กล้องที่มีประสิทธิภาพมากกว่า

          การดูดาวนับเป็นงาน อดิเรกทีน่าพิสมัยมากอีกอย่างหนึ่ง ที่สามารถให้ทั้งความรู้และความบันเทิงไป พร้อมๆกัน วิชาดาราสาสตร์หรือการสังเกตการเคลื่อนตัวของดวงดาวนั้นช่วยสร้างศาสตร์อื่น ตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิชาการเดินเรือที่ต้องอาศัยดาวเป็นหลักในการนำทาง  โหราศาสตร์เองก็อาศัยการเปลี่ยนแปลงของท้องฟ้ายามค่ำในการทำนายทายทักตาม หลักสถิติ  ทั้งการดูดาวยังสร้างเทคโนโลยีให้กับมนุษย์ตามมาอีกมากมายเหนือสิ่งอื่นใด การศึกษาทางดาราศาสตร์ยังสร้างแรงขับดันจากภายในให้มนุษย์พยายามทำความเข้า ใจกับมันมากยิ่งขึ้น และให้เราได้ ก้าวข้าม ขอบโลกออกไปเผชิญหน้ากับท้องฟ้าอันกว้างไพศาลภายนอกโลกสีน้ำเงินใบนี้อย่าง เต็มไปด้วยความสงสัย






 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น